สมัยกรุงศรีอยุธยา


สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระในปี พ.. ๑๘๐๐ ชนชาวไทยส่วนหนึ่งที่อพยพมาตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้าแตกได้อพยพลงมาทางใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เรียกตัวเองว่า ลานช้าง หรือ ล้านช้างในระยะแรกที่อพยพเข้าสู่ดินแดนบริเวณนี้ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมเช่นเดียวกันจนถึงรัชสมัยของพระเจ้ารามคำแหง ได้ทรงขยายอาณาเขตเข้าครอบคลุมลานช้างด้วยจนถึงปี พ.. ๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย ขณะเดียวกันทางกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองประเทศราชพากันกระด้างกระเดื่องในปี พ.. ๑๙๒๑ พระบรมราชา 
(ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพไปตีสุโขทัยไว้ในอำนาจได้

ชนชาติไทยในลานช้าง
ในระยะก่อนตั้งกรุงสุโขทัยมาจนถึงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้าได้ให้โอรสองค์ใหญ่ชื่อ ขุนลอมาครองเมืองเซ่า (หลวงพระบาง) และได้มีกษัตริย์สืบทอดมาอีก ๒๒ พระองค์ จนถึงปี ๑๘๖๙ เจ้าฟ้างุ้มได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเซ่าเป็นเมืองลานช้าง แต่เนื่องจากระยะนั้นขอมยังมีอิทธิอยู่ในบริเวณนี้ ชาวไทยจึงได้รวมตัวกัน โดยสร้างสัมพันธ์ทางสายเลือด เพื่อต่อต้านอำนาจขอม ในปี พ.. ๒๐๘๙ พระเจ้าโพธิสาร กษัตริย์ลานช้าง ได้รับราชสมบัติลานนา (เชียงใหม่) ให้แก่โอรส คือ พระไชยเชษฐา  เพราะมีสิทธิทางฝ่ายมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่  พ.. ๒๑๐๒ พระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ พระโอรสของพระองค์แย่งราชสมบัติกัน พระไชยเชษฐาจึงทิ้งเมืองเชียงใหม่และได้อันเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย และได้ยกกองทัพมาลานช้างบังคับให้น้องสละราชสมบัติลานช้างแล้วครอบครองราชสมบัติใช้พระนามว่า ท้าวไชยเชษฐาธิราชส่วนทางเมืองเชียงใหม่เกิดความไม่สงบเพราะพระเจ้าบุเรงนองแผ่อำนาจขึ้นไปทางเมืองไทยใหญ่ แล้วมุ่งมาตีเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นเชียงใหม่มีพระเจ้าเมกุติเจ้าไทยใหญ่ เชื้อสายเจ้าเชียงใหม่ครองอยู่ พระเจ้าเมกุติยอมแพ้พม่าโดยไม่สู้รบเลยและสัญญาว่าจะส่งบรรณาการต่อบุเรงนองทุกปี พอทัพพม่าออกจากเชียงใหม่ พระไชยเชษฐาธิราชก็ยกทัพเข้าเชียงใหม่ขับไล่พระเจ้าเมกุติออกจากราชบัลลังก์ บุเรงนองได้ยกทัพย้อนกลับมาอีก ขับไล่ทหารของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชออกจากเชียงใหม่ และประกาศถอดพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชออกจากบัลลังก์ลานช้าง พระไชยเชษฐาได้รวบรวมผู้คนและชักชวนเจ้าผู้ครองนครแถบนั้นเข้าเป็นพันธมิตร แล้วยกทัพไปตีเชียงแสน บุเรงนองก็ตามไปโจมตีเมืองต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรพระไชยเชษฐาได้จนหมดสิ้น พระไชยเชษฐาจึงหนีกลับไปลานช้าง
.. ๒๑๐๓ พระไชยเชษฐาได้ทำไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปี ๒๑๐๖ ได้ย้ายราชธานีไปเวียงจันทน์ สร้างค่ายคูประตูหอรบสร้างวัดพระธาตุหลวงและวัดพระแก้วเปลี่ยนชื่อเมืองเซ่าหรือลานช้าง เป็นหลวงพระบางพระไชยเชษฐามีนโยบายเป็นมิตรกับคนไทยด้วยกัน และได้รักษาสัมพันธไมตรีอันดีเมื่อคราวที่พม่ามารบไทย พระไชยเชษฐาได้ยกทัพมาช่วย ทำให้พม่าเคียดแค้นจึงได้ยกทัพตีเมืองเวียงจันทน์ได้และพระไชยเชษฐาได้หายสาบสูญไป เหตุการณ์ระยะปี พ.. ๒๑๑๒ ถึง ๒๑๓๓ พม่าได้ปกครองดินแดนลานช้างและพม่ากำลังเสื่อมอำนาจลงเพราะสิ้นบุเรงนอง ประกอบกับได้ทำสงครามติดพันกับกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (๒๑๓๓๒๑๔๘) จึงทำให้ลานช้างปลอดจากอิทธิพลพม่า
ในปี พ.. ๒๑๓๔ พระสงฆ์ของเวียงจันทน์ได้ขอให้พม่าส่งพระหน่อแก้วเชื้อพระวงศ์พระไชยเชษฐาธิราชคืนกลับมาเป็นกษัตริย์ เมื่อกลับถึงเวียงจันทน์พระหน่อแก้วได้ประกาศเอกราชจากพม่า แล้วจึงยกทัพไปตีเมืองหลวงพระบางได้ไว้ในอำนาจ และมีความสงบอยู่เกือบร้อยปี

อพยพจากลานช้างสู่อีสาน
เหตุที่ทำให้คนไทยลานช้างต้องอพยพลงใต้นั้น เนื่องจากพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเจ้ากรุงศรีสัตนาคณหุต (เวียงจันทน์) ถึงแก่พิราลัยเมื่อพุทธศักราช ๒๒๓๑ ซึ่งตรงกับรัช-สมัยของพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีพระราชโอรส ๑ องค์นามว่า เจ้าองค์หล่อ ซึ่งมีชนมายุ ๓ พรรษา และมีพระนางสุมังคละมเหสี กำลังทรงครรภ์อยู่ด้วย  ขณะนั้นมีเสนาบดี      ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อว่า พระยาเมืองแสน มีอำนาจมากกว่าคนอื่นๆ ได้ราชาภิเษกให้แก่เจ้าองค์หล่อราชโอรสครองราชสมบัติ ต่อมาก็ยกตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน โดยอ้างว่าเจ้าองค์หล่อยังเยาว์นัก ประกาศว่าเมื่อเจ้าองค์หล่อเจริญวัยขึ้นจะถวายราชสมบัติ โดยสิทธิ์ขาดในภายหลัง ด้วยเลห์เหลี่ยมอันฉลาดแกมโกงของพระยาเมืองแสนๆ ก็ได้ครองบัลลังก์ โดยไม่มีการราชาภิเษกแต่อย่างใด ขับเจ้าองค์หล่อจากราชบัลลังก์อย่างเงียบๆ และคิดการจะรับเอามารดาของเจ้าองค์หล่อที่ทรงครรภ์มาเป็นภรรยาของตน แต่มารดาของเจ้าองค์หล่อทราบระแคะระคายจึงพาเจ้าองค์หล่อกับคนสนิทลอบหนีไปขออาศัยอยู่กับเจ้าครูโพนเสม็ด (สมเด็จเจ้าหัวครูโพนเสม็ดอยู่ในตำแหน่งเจ้าหัวครูยอดแก้ว "พระสังฆราช") ซึ่งเป็นที่เคารพและมีลูกศิษย์มาก เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่าถ้าให้นางอาศัยอยู่ด้วยก็เกรงความครหานินทาทั้งไม่เป็นการปลอดภัยจึงส่งไปไว้ที่ตำบลภูชะง้อหอคำและได้ประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่งนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ที่นั้น
ฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมีผู้รักใคร่นับถือมาก เกรงว่าจะคิดการแย่งชิงเอาบ้านเมือง จึงคิดการกำจัด แต่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดรู้เสียก่อนจึงรวบรวมพวกพ้องเหล่าสานุศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ คน เดินทางหลบไป เมื่อผ่านไปทางใดก็มีราษฎรอพยพตามไปด้วยจนเดินทางถึงแขวงเมืองบันทายเพชร์ ดินแดนเขมร ฝ่ายพระเจ้ากรุงกัมพูชาได้สั่งให้มีการสำรวจสำมะโนครัวและให้เรียกเก็บเงินจากชาวเวียงจันทน์ ครัวละ ๒ ตำลึง เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่า เป็นการเดือนร้อนแก่เหล่าศิษยานุศิษย์ จึงอพยพออกจากดินแดนเขมรจนบรรลุถึงเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี การเดินทางออกจากเมืองเวียนจันทน์จนถึงนครกาละจำบากนาคบุรีศรีนี้ เจ้าหัวครูโพนเสม็ดต้องอาศัยเจ้าแก้วมงคล (บรรพบุรุษชาวมหาสารคาม) เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด รองแม่กอง ในการควบคุมดูแลบริวารของท่านมาตลอดทาง
ฝ่ายนางเภา นางแพง ซึ่งเป็นธิดาของผู้ครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเมื่อบิาของนางถึงแก่พิราลัยแล้ว นางก็เป็นผู้บัญชาราชการบ้านเมืองต่อมา จนกระทั่งถึงปีที่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมาถึงเมือง นางทั้งสองทราบข่าวก็มีความเลื่อมใจ จึงพาแสนท้าวพญาเสนามาตย์ออกไปอาราธนาเจ้าหัวครูโพนเสด็ดเข้ามาในเมืองครั้งเวลาต่อมานางและประชาชนมีความเคารพนับถือเจ้าหัวครูโพนเสม็ดมากขึ้น และนางทั้งสองก็ชราลงมากจึงอาราธนาให้เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเป็นผู้ช่วยทำนุบำรุงฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
เมื่อเจ้าองค์หล่อได้เจริญวัยขึ้นหน่อยก็สามารถไปอยู่ที่ประเทศญวน ต่อมาได้เกลี้ยกล่อมสมัครพรรคพวกได้มากจึงยกกำลังมาล้อมเมืองเวียงจันทน์ เมื่อราว พ.. ๒๒๔๕ จับ  พระยาเมืองแสนประหารชีวิต เจ้าองค์หล่อได้ครองราชสมบัติต่อมา
ครั้น พ.. ๒๒๕๒ ปรากฏว่าชาวเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี บางพวกได้ซ่องสุมพรรคพวกก่อการกำเริบเป็นโจรผู้ร้ายเที่ยวปล้นสะดมในตำบลต่างๆ ทำให้ราษฎรผู้มีความสุจริตธรรมต้องเดือนร้อนทั่วไป เจ้าหัวครูโพนเสม็ดได้พยายามปราบปรามโดยการเที่ยวอบรมสั่งสอนในทางดีก็หาได้ผลไม่  ครั้นจะทำการบำราบปราบปรามโดยอำนาจอาชญาจักร์ก็เป็นการเสื่อมเสียทางพรหมจรรย์ ทั้งจะเป็นที่ครหานินทาของประชาชนทั้งหลาย จึงดำริหาวิธีที่จะระงับเหตุร้ายโดยละม่อมที่สุดก็เห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก เวลานี้ก็ทรงเจริญวัยขึ้นแล้ว และเป็นผู้ประกอบด้วยเกียรติยศเกียรติคุณอันดีงาน สมควรจะปกครองไพร่บ้านพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นได้ จึงจัดให้ท้าวพระยาเสนาบดีแลบ่าวไพร่ออกไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์กับพระมารดาเข้ามายังเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี แล้วเจ้าหัวครูโพนเสม็ดก็กระทำพิธียกเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินของนครกาละจำบากนาบุรีศรี และได้ถวายพระนามว่า พระเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรและได้เปลี่ยนนามเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเป็นเมือง นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรีตั้งแต่นั้นมา เจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ได้จัดการปกครองแลปราบปรามยุคเข็ญสงบราบคาบลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วเป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามยุคเข็ญนั้น
เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ก็เริ่มดำริหาเมืองขึ้น โดยให้มีการสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่หลายเมือง แล้วจัดให้บรรดาบุคคลที่มีปรีชาสามารถแลมีผู้รักใคร่นับถือออกไปเป็นเจ้าเมือง (เจ้าเมืองสมัยนั้นก็เสมือนกษัตริย์เมืองขึ้น เพราะการแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ ตลอดจนคำพูดที่ใช้ในสำนักของเจ้าเมืองนั้นๆ ก็ใช้เป็นราชาศัพท์) ให้จารย์หวดไปสร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองโขงตั้งจารย์หวดเป็นเจ้าเมือง ให้ท้าวจันทร์ (นับว่าเป็นน้องจารย์แก้ว) ไป
รักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง



สร้างเมืองบรรพบุรุษของชาวอีสาน
ส่วนจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองทง (สุวรรณภูมิ) ให้จารย์แก้วเป็นเจ้าเมือง (ชื่อของจารย์แก้วในภายหลังก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมืองและนายอำเภอเมืองนี้ ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ เช่น พระยารัตนวงศา พระรัตนวงศาฯ หลวงรัตนาวงศา (เมืองนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเมืองสุวรรณภูมิแล้วยุบลงเป็นอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด ราว พ.. ๒๔๕๔)
ครั้น พ.. ๒๒๖๘ อาจารย์แก้วเจ้าเมืองทงก็ถึงแก่อนิจกรรม มีบุตรรวม ๓ คน คือ () เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน)  () ท้าวมือดำดล หรือท้าวมืด () ท้าวสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ (ปรากฏในพงศาวดารว่าเหตุที่ชื่อท้าวมืดเพราะเวลาคลอดนั้นเป็นเวลาสุริยุปราคามืดมิดไปทั่วเมือง ที่ชื่อท้าวสุทนต์มณี เพราะเวลาตั้งครรภ์บิดาฝันว่าฟันของตนได้เกิดเป็นแก้วมณีขึ้น) เมื่อจารย์แก้วถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ก็ตั้งให้ท้าวมืดเป็นเจ้าเมือง ท้าวทนต์เป็นอุปฮาช รักษาบ้านเมือง ต่อไปในภายหลัง ท้าวมืดดำดลเจ้าเมืองถึงแก่กรรมลง ท้าวสุทนต์มณีน้องชายได้เป็นเจ้าเมืองแทน ท้าวสุทนต์ผู้นี้นับว่ายังเป็นผู้ยังไม่สิ้นเคราะห์พอขึ้นเป็นเจ้าเมืองไม่ทันไรก็ถูกอิจฉา โดยท้าวเชียง ท้าวสูนบุตรของท้าวมืดซึ่งเป็นหลานชาย อยากเป็นเจ้าเมืองเสียเอง จึงพากันลงไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ณ พระนครศรีอยุธยา ขอกำลังมาทำการขับไล่ท้าวสุทนต์ผู้อา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหม พระยากรมท่าออกไปจัดการกับท้าวเชียง ท้าวสูน โดยมีพระประสงค์จะให้ประนีประนอมกันแต่โดยทางดี
ฝ่ายท้าวสุทนต์เจ้าเมืองเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพกรุงยกมาก็ดำริเห็นว่า เราเป็นเมืองน้อยมีกำลังน้อยไม่สามารถต้านทานกำลังของกองทัพกรุงได้ ถ้าหากมีการต่อสู้กันขึ้นมา คงเป็นฝ่ายย่อยยับจึงอพยพครอบครัวออกไปอยู่ที่ทุ่งตะมุม (หรือขมุม หรือกระหมุม ที่นั่นได้เรียกว่าคงเมืองจอกมาจนทุกวันนี้) ในครั้งนั้นมีประชาชนที่จงรักภักดีติดตามท้าวทนต์ไปอยู่ที่ทุ่งตะมุมด้วยเป็นจำนวนมาก
ครั้นพระยาพรหม พระยากรมท่ามาถึงเมืองทงเมื่อทราบว่าท้าวทนต์ฯ ได้หนีไปแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้งท้าวเชียงเป็นเจ้าเมืองท้าวสูนเป็นอุปฮาช ได้โปรดพระราชทานตามที่ขอ แต่นั้นมาเมืองทง (ทุ่ง) ก็เป็นอันขาดจากความปกครองของเมืองนครจำปาศักดิ์ฯ ครั้นเรียบร้อยแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็ออกไปตั้งสำนักอยู่ที่ทุ่งสนามโนนกระเบา (ในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ)

สร้างบ้านร้อยเอ็ด
เมืองร้อยเอ็ดได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.. ๒๓๑๘ (ก่อนเมืองมหาสารคาม ๙๐ ปีบริบูรณ์) ปรากฏในพงศาวดารภาคอีสานของหอสมุดว่า สมัครพรรคพวกที่ไปขอขึ้นด้วยมากขึ้นทุกที ในที่สุดพระยาพรหม พระยากรมท่าเห็นว่าท้าวทนต์เป็นตระกูลสูงเก่าแก่ และมีความเฉลียวฉลาดประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมเป็นอันดีทั้งมีคนเคารพเลื่อมใสยอมตนเข้าเป็นพรรคพวกเป็นอันมาก สมควรจะเป็นเจ้าเมืองต่อไปอีกได้ จึงพร้อมด้วยเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ เจ้าหมื่นน้อย เจ้าธรรมสุนทรซึ่งเป็นญาติของท้าวสุทนต์ กับท้าวเชียง ท้าวสูน มาว่ากล่าวประนีประนอมให้คืนดีกันจนเป็นผลสำเร็จแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็มีใบบอกขอยกเอาดงกุ่มขึ้นเป็นเมือง ขอท้าว 
สุทนต์เป็นเจ้าเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุทนต์เป็นพระขัติยะวงศาให้ยกดงกุ่มเป็นเมืองร้อยเอ็ดในปี พ.. ๒๓๑๘ นั้นเอง (เหตุที่ให้นามว่า ขัติยะวงศา เพราะท้าวแก้วต้นตระกูลเป็นผู้สืบสายจากกษัตริย์เวียงจันทน์) ต่อจากนั้นพระขัติยะวงศา (สุทนต์) ได้เริ่มอำนวยการให้ราษฎรแผ้วป่าดงกุ่มสร้างเมืองใหม่ตามมีพระบรมราชโองการ ต่อจากนั้นก็มีการส้างวัดวาอาราม ปรับปรุงบ้านเมืองในด้านการปกครองการศาสนาตลอดจนส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎรให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น